ยินดีต้อนรับสู่ ความเป็นไทย ผู้จัดทำ นายภูรินทร์ ทองโสม 59010512123 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อาณาจักรหริภุญชัย

อาณาจักรหริภุญชัย


        อาณาจักรหริภุญชัย (ประมาณ ฤๅษีวาสุเทพ ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์นักปราชญ์และช่างศิลปะต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) กล่าวถึงนครหริภุญไชยไว้ว่าเป็น " อาณาจักรกษัตริย์หญิงหนี่ว์หวังกว๋อ ต่อมา พ.ศ. 1824 พระเจ้าเม็งรายมหาราชกษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์


        ปัจจุบันโบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยนั้นก็คือ พระธาตุหริภุญไชยที่จังหวัดลำพูนและยังมีเมืองโบราณเวียงมโนตำบลหนองตองอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่โบราณส​​ถานที่เวียงเกาะบ้านสองแควอำเภอจอมทองจังหวัดเชียงใหม่และเวียงท่ากานที่ตำบลบ้านกลางต. สันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมอาณาจักรมอญโบราณอยู่

1. ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรหริภุญชัย คือ เมืองหริภุญชัย (จังหวัดลำพูน) ตั้งขึ้น ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-19 สันนิษฐานว่าผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวมอญจากเมืองละโว้ที่อพยพขึ้นไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองหริภุญชัย

2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ทราบถึงความเป็นมาของเมืองหริภุญชัย คือ ตำนานจามเทวีวงศ์หรือตำนานเมืองหริภุญชัย โดยกล่าวว่ากษัตริย์ละโว้ได้ส่งพระนางจามเทวี ผู้เป็นพระธิดาให้มาปกครอง ซึ่งในตำนานจะเรียกชาวเมืองหริภุญชัยว่า “ชาวรามัญ ” และเรียกกษัตริย์ว่า “ พระเจ้ารามัญ ”

3. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรหริภุญชัยกับละโว้ ในสมัยหลังๆ หริภุญชัยกับละโว้มีการทำสงครามสู้รบกันอยู่เนืองๆ หริภุญชัยเป็นฝ่ายปราชัยและต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของละโว้หลายครั้ง

4. ความเจริญของอาณาจักรหริภุญชัย เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองได้สร้างความเจริญให้บ้านเมือง โดยเฉพาะการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาทรงเป็นผู้สร้างพระธาตุหริภุญชัยและวัดวาอารามอื่น ๆ ทำให้ผู้คนและสังคมมีความสงบสุข

5. อาณาจักรหริภุญชัยถูกรวบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา เมื่อปี พ.ศ. 1835 โดยพระยามังรายมหาราชแห่งราชอาณาจักรล้านนา ได้ยกทัพเข้าตีเมืองหริภุญชัยและรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาตั้งแต่บัดนั้น

ขอบคุณข้อมูล จาก http://uthidjapin2519.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น