ยินดีต้อนรับสู่ ความเป็นไทย ผู้จัดทำ นายภูรินทร์ ทองโสม 59010512123 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้


ทฤษฎีการเรียนรู้


           การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา

1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 

ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม

1.พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2.พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3.แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

               นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ

 1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)

 2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป

ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม 


1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า ผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ


สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ และกฏการเรียนรู้ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้ 


1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง

กฎแห่งการเรียนรู้ 

1. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) คือ ความเข้มข้นของการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าอินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว หรือความ มีสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างออกไปมากขึ้น

2. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery) คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฎขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ช่วย

3. กฎแห่งสรุปกฏเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น

4. กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจาก สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัดหรือเสียงปืนจะไม่มีอาการน้ำลายไหล ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในมุมมองของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน 


1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-d ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ 

             ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) หรือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ซึ่งมี สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เป็นเจ้าของทฤษฎีสกินเนอร์ได้ทดลองการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์กับหนูและนกในห้องทดลอง จนกระทั้งได้หลักการต่าง ๆ มาเป็นแนวทางการศึกษาการเรียนรู้ของมนุษย์สกินเนอร์มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ โดยพัฒนาจากทฤษฎีของ พาฟลอฟ และธอร์นไดค์ โดยสกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง

              พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้งการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) การเสริมแรง หมายถึง ผลของพฤติกรรมใด ๆ ที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเข้มแข็งขึ้น การเสริมแรงทางบวก หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนการเสริมแรงทางลบเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อาจจะทำให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นได้ในการด้านการเสริมแรงนั้น สกินเนอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง



โดยได้แยกวิธีการเสริมแรงออกเป็น 2 วิธี คือ

1. การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้

2. การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็นครั้งคราว ได้ดังนี้

      2.1 เสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน
      2.2 เสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
      2.3 เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
      2.4 เสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
            การเสริมแรงแต่ละวิธีให้ผลต่อการแสดงพฤติกรรมที่ต่างกัน และพบว่า การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอนจะให้ผลดีในด้านที่พฤติกรรมที่พึงประสงค์จะเกิดขึ้นในอัตราสูงมาก และเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลานานหลังจากที่ไม่ได้รับการเสริมแรง จากการศึกษาและทดลองของสกินเนอร์นั้น สามารถสรุปเป็นลักษณะ และทฤษฎีการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์หรือทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำได้ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้ 

1. การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
2. การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อผู้เรียนกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 

1. ในการสอน การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตรากาตอบสนองที่เหมาะสมนั้น
2. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร
3. การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนรู้ไม่ได้ ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
4. หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน ควรแยกแยะขั้นตอนของปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน และจึงพิจารณาแรงเสริมที่จะให้แก่ผู้เรียน

2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism) ทฤษฎี Constructivism




             มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้ ทฤษฎี Constructivism
จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
1. Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียน ปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่ง เกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น



ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม


1.ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4.การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย


ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพุทธิปัญญานิยม 


            ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของ บรุนเนอร์มีดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้ 

1.. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์
6. การเรียนรู้เกิดได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถสร้างหรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 


1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน 3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
4. ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน

3.ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา 


           ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอบันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน


ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา 



1. บันดูรา ได้ให้ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม และถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูราได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะ เรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ดังนี้


2. บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ บันดูราได้สรุปว่า พฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
       2.1 พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ
       2.2 พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ
       2.3 พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ

3. บันดูรา ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ

การประยุกต์ในด้านการเรียนการสอน 


1. ตั้งวัตถุประสงค์ที่จะทำให้นักเรียนแสดงพฤติกรรม หรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2. ผู้สอนแสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆตัวอย่าง ซึ่งอาจจะเป็น คน การ์ตูน ภาพยนตร์ วิดีโอ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
3. ผู้สอนให้คำอธิบายควบคู่ไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละครั้ง
4. ชี้แนะขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน เช่น แนะให้นักเรียนสนใจสิ่งเร้าที่ควรจะใส่ใจหรือเลือกใส่ใจ
5.จัดให้นักเรียนมีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนสามารถที่จะกระทำโดยการเลียนแบบหรือไม่ ถ้านักเรียนทำได้ไม่ถูกต้องอาจจะต้องแก้ไขวิธีการสอนหรืออาจจะแก้ไขที่ตัวผู้เรียนเอง
6.ให้แรงเสริมแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้ถูกต้อง เพื่อจะให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน

อ้างอิง 

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545 - สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544  - http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm   - http://gotoknow.org/blog/suwit-rakmanee/301463   - http://digital.lib.kmutt.ac.th/Class/Education/Study_Technology/project_phycology/unit9.htm   - http://puvadon.multiply.com/journal/item/6/6
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/35946

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ทวีปแอฟริกา

แอฟริกา
ลักษณะภูมิอากาศและธรรมชาติของทวีปแอฟริกา

เขตภูมิอากาศของแอฟริกาแบ่งออกเป็น 6 เขต
1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและฝนตกชุกพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าทึบ หรือป่าดงดิบ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งรอบอ่าวกินี ลุ่มแม่น้ำคองโก เขตที่สูงในแอฟริกาตะวันออก และฝั่งตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) เป็นเขตอากาศที่มีฝนตกชุกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของแนวศูนย์สูตร ซึ่งอยู่รอบๆ เขตป่าดิบชื้น
3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากที่สุด มีฝนตกน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติมีอยู่บ้าง เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร ได้แก่ บริเวณตอนเหนือของทวีป มีทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย ซึ่งมีอาณาเขตต่อเนื่องกัน มีเนื้อที่ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ทั้งทวีป และเป็นเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนทางตอนใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ
4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นเขตที่มีอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในเขตทะเลทราย มีฝนตกไม่เกิน 15 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น(สเตปป์) ได้แก่ บริเวณตอนกลางของทวีปและตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรระหว่างละติจูด 10-30 องศาใต้ ด้านชายฝั่งตะวันตกของทวีป
5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก ภูมิอากาศแบบนี้มีอยู่ 2 บริเวณ คือ ทางตอนเหนือที่เรียกว่า ชายฝั่งบาร์บารี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก ตูนิเซีย กับทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรภาคใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subttropical Climate) เป็นภูมิอากาศชื้นกึ่งร้อน เป็นเขตที่มีฝนตกมากในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น เนื่องจากมีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน พบในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของประเทศโมซัมบิก
สถานที่ท่องเที่ยวทวีปแอฟริกา

น้ำตกวิกตอเรีย บริเวณรอยต่อของประเทศแซมเบีย และประเทศซิมบับเว

             น้ำตกวิกตอเรีย (Victoria Falls) น้ำตกสุดอลังการแห่งประเทศแซมเบีย (Zambia) กว้างมากกว่า 1,700 เมตร และสูงมากกว่า 80-108 เมตร มีมวลน้ำมหาศาลไหลผ่าน สวยตระการตา เป็นที่เที่ยวแซมเบียและแอฟริกาที่ไม่ควรพลาด 
            ประเทศแซมเบีย เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าท่องเที่ยวของทวีปแอฟริกา ด้วยยังคงมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้มากมาย ยิ่งใครที่ชอบธรรมชาติแบบซาฟารี ที่นี่ก็มีป่ากว้างใหญ่สวยงามไม่แพ้ที่ไหนในแอฟริกา ยิ่งไปกว่านั้นแซมเบียยังเป็นที่ตั้งของน้ำตกวิกตอเรีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย

ยอดเขาคิลิมันจาโร ประเทศเเทนซาเนีย


             ยอดเขาคิลิมันจาโร ตั้งอยู่ในเขตประเทศเเทนซาเนียใกล้พรมแดนประเทศเคนยา เป็นภูเขาไฟยอดเดี่ยวที่สูงที่สุดในโลก และเป็นยอดเขาที่สุดที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย มีความสูงกว่า 5,895 เมตร ตรงบริเวณยอดเขา มียอดเขาอีก 5 ยอดด้วยกัน ที่นี่เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว บริเวณยอดเขามีธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ยาวกว่า 4,500 เมตร ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกาเลย ที่บริเวณลาดเขาช่วงล่างเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น ช้าง แรด ควาย และแอนทิโลป ส่วนที่ระดับความสูง 3,500 เมตรขึ้นไป จะเป็นพรรณพืชแบบทุ่งมัวร์มีมอสส์ขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นพรรณพืชแบบป่าสน บนยอดเขาเป็นที่ว่างเปล่าถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ

รอบรู้เรื่องทวีปแอฟริกา

แม่น้ำสายใดยาวที่สุดในทวีปแอฟริกาและยาวที่สุดในโลก(แม่น้ำไนล์)
ยอดเขาที่มีความสูงมากที่สุดในทวีปแอฟริกา(ยอดเขาคิริมันจาโร)
ทะเลใดแยกดินแดนระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย(ทะเลแดง)
ทวีปแอฟริกามีขนาดพื้นที่ขนาดใหญ่รองจากทวีปใด(ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย)
เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของทวีปแอฟริกา คือเกาะอะไร(เกาะมาดากัสการ์)
ทะเลทรายในทวีปแอฟริกาที่ใหญ่ที่สุดในโลก คืออะไร(ทะเลทรายสะฮารา)
พื้นที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคเหนือของทวีปแอฟริกา มีชื่อเรียกว่าอะไร(บาร์บารี)
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของแอฟริกา ทำให้ทวีปนี้ได้ชื่อว่าอะไร(ที่ราบสูง ดินแดนที่ราบสูง)
เทือกเขาสูงที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสายทางภาคใต้ของทวีปแอฟริกา คืออะไร(เทือกเขาดราเคนลาเบริก์)
ทะเลสาบทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาเกิดจากสาเหตุใด(การทรุดตัวของเปลือกโลก)
พืชพรรณแบบทุ่งหญ้าสเตปป์ในทวีปแอฟริกาปรากฏอยู่ในบริเวณใด(ตอนกลางและชายฝั่งตะวันตกของทวีป)
เกาะมาดากัสการ์ มีลักษณะภูมิอากาศแบบใดเด่นชัดที่สุด(ทุ่งหญ้าสะวันนา)
บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางที่สุดในทวีปแอฟริกา(ทะเลทรายซาฮาราและคาราฮารี)
แร่ธาตุใดที่ทวีปแอฟริกาผลิตได้มากกว่าทวีปอื่นๆ(ทองคำและเพชร)
ภาคเหนือของทะเลทรายสะฮาราปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรประเภทใดมากที่สุด(ปิโตเลียม)
แมลงเชตซีเป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพใดเพราะเหตุใด(อาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคโรคเหงาหลับ)
พืชเศรษฐกิจสำคัญของทวีปแอฟริกาที่ปลูกมากบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก คืออะไร(โกโก้)
ถ้าเกิดการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในทวีปแอฟริกา นักเรียนคิดจะเกี่ยวข้องกับข้อใด(อนุสัญญาไซเตส)

ประชากรทวีปแอฟริกานับถือศาสนาใด(ศาสนาคริสต์)

ทวีปอเมริกาใต้

ทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะภูมิอากาศและธรรมชาติของทวีปอเมริกาใต้

ลักษณะภูมิอากาศของอเมริกาใต้ แบ่งออกเป็น 8 เขต
1.เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate)  เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและชุ่มชื้นตลอดปีพบในบริเวณเขตศูนย์สูตรแถบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล  พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ป่าดิบ เรียกว่า ป่าเซลวาส (Selvas)

2.เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือสะวันนา  (Savanan Climate)  เป็นเขตที่มีอากาศร้อนตลอดปี มีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโอริโนโคในประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลา ที่ราบสูงกิอานาในประเทศเวเนซุเอลา ที่ราบสูงบราซิล   พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ทุ่งหญ้าและป่าโปร่งทุ่งหญ้าในเขตลุ่มแม่น้ำโอริโนโคและที่ราบสูงกิอานา เรียกว่า ทุ่งหญ้ายาโนส (Llanos)  ทุ่งหญ้าในเขตประเทศบราซิล เรียกว่า ทุ่งหญ้าแคมโปส  ทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัยและตอนเหนือของอาร์เจนตินา เรียกว่า ทุ่งหญ้ากรันชาโก

3.เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี  ได้แก่ ทะเลทรายอะตากามา ทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตประเทศเปรู และตอนเหนือของชีลี และทะเลทรายในเขตที่ราบสูงปาตาโกเนียทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในเขตประเทศอาร์เจนตินา

4.เขตภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) ซึ่งอยู่ระหว่างเขตทะเลทรายกับเขตอบอุ่น  มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 15 นิ้วต่อปี พบบริเวณตะวันออกของอาร์เจนตินาถึงที่ราบสูงปาตาโกเนียทางตอนใต้   พืชพรรณธรรมชาติ ทุ่งหญ้าสั้นๆ หรือทุ่งหญ้าสเตปป์

5.เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) มีอากาศร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อน และมีอากาศอบอุ่นฝนตกในฤดูหนาวพบบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางของชิลี   พืชพรรณธรรมชาติ ไม้พุ่มมีหนาม ใบแหลมเรียวเล็ก เป็นมันเปลือกหนา เพื่อป้องกันการคายน้ำในฤดูร้อน

6.เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subtropical Climate) มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ปริมาณน้ำฝนปานกลาง ประมาณ 750-1,500 มิลลิเมตรต่อปี  ได้รับอิทธิพลจากลมประจำที่พัดผ่านน่านน้ำนำกระแสน้ำอุ่นเข้าสู่ฝั่ง  พบบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีป   พืชพรรณธรรมชาติ  เป็นป่าผลัดใบ และบริเวณภายในมีปริมาณน้ำฝนน้อยลง  พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้ายาวเรียกว่า ทุ่งหญ้าปามปัส (Pampas) มีความสำคัญทางการเกษตรของประเทศปารากวัย อุรุกวัยและอาร์เจนตินา

7.เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate)  มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี  พบบริเวณทางตอนใต้ของเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนในประเทศชีลี  พืชพรรณธรรมชาติ ป่าผลัดใบกับป่าสน


8.เขตภูมิอากาศแบบภูเขาสูง มีอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามความสูงของพื้นที่พบบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีส
สถานที่ท่องเที่ยวทวีปอเมริกาใต้

มาชูปิกชู(Machu Picchu)กุสโก เปรู


                   Machu Picchu (มาชูปิกชู) ซากอารยธรรมโบราณตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู  หรือนิยมเรียกอีกชื่อว่า เมืองสาบสูญแห่งอินคา อารยธรรมแห่งนี้คาดว่าสร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1450 แต่ได้ถูกหลงลืมไป จนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2454 โดยนักโบราณคดี ชื่อ ไฮแรม บิงแฮม เป็นหลักฐานสำคัญของจักรวรรดิอินคา และองค์กรยูเนสโกได้กำหนดให้ Machu Picchu เป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2526 มีความสูงอยู่ที่ 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นศูนย์กลางความสำคัญทางโบราณคดีของอเมริกาใต้ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเปรูเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมาเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์จากอารยสถานแห่งนี้ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 มาชูปิกชู ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ


เกาะอีสเตอร์ (Easter Island) ประเทศชิลี 
               ย้อนไปในวันอีสเตอร์ของปี ค.ศ.1722 นักเดินเรือชาวดัตช์ชื่อจาค็อบ ร็อกเกวีน (Jacob Roggeveen) ได้เดินทางมาค้นพบเกาะแห่งนี้ และตั้งชื่อว่า เกาะอีสเตอร์” (Easter Island) ตรงกับวันที่เขาค้นพบ เขาได้พบเจอชาวพื้นเมืองจำนวนนึงที่ไม่เคยรู้จักกับโลกภายนอกมาก่อน ไม่มีเรือหรือพาหนะที่ใช้ในการเดินทางล่องทะเล
               เป็นเกาะที่ไม่มีแม้แต่ต้นไม้หรือสัตว์ป่าใดๆ แต่กลับมีปริศนาที่น่าอัศจรรย์ใจที่สุดว่าเกาะแห่งนี้มีหินแกะสลักขนาดยักษ์ตั้งเรียงรายอยู่เต็มชายฝั่งได้อย่างไร ทั้งที่เกาะนี้ไม่มีแม้แต่ท่อนซุงหรือเถาวัลย์ที่จะใช้ในการเคลื่อนย้ายหินขนาดมหึมาเหล่านี้ได้ และความอัศจรรย์นี้ก็ส่งผลให้เกาะอีสเตอร์ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี 1995 และอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติราปานุย

รอบรู้เรื่องทวีปอเมริกาใต้

ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ (เทือกเขาสูง/ที่ราบสูง)
ที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ที่ราบลุ่มแม่น้ำแอเมซอน)
ดินแดนที่ติดต่อกับทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศปานามา)
ที่ราบสูงกว้างใหญ่ที่สุดในทวีปอมเริกาใต้ (ที่ราบสูงบราซิล)
ชื่อที่ราบสูงที่มีความสูงเป็นอันดับสองของโลก (ที่ราบสูงโบลิเวีย)
ยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (อะคองคากัว)
ภาษาราชการของประเทษส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ (ภาษาสเปน)
ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้นับถือศาสนาคริสต์นิกายใด (โปรเตสแตนต์)
ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (บราซิล-อาร์เจนตินา)
ทวีปอเมริกาใต้สามารถเพาะปลูกพืชชนิดใดได้ดี (พืชทนแล้ง)
พืชพรรณธรรมชาติบริเวณลุ่มน้ำแอเมซอนมีลักษณะอย่างใด (ป่าดงดิบ)

ทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือ


ลักษณะภูมิอากาศและธรรมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ



ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ มีภูมิอากาศได้เป็น 11 เขตดังนี้
1.         เขตอากาศแบบป่าดิบชื้น ลักษณะอากาศมีฝนตกชุก อุณหภูมิสูง บริเวณชายฝั่งตะวันออกของเม็กซิโก ปานามา อเมริกาตอนใต้ พืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบป่าเมืองร้อน

2.         เขตอากาศทุ่งหญ้าเขตร้อน ลักษณะอากาศฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก มีฝนตกปานกลาง บริเวณเม็กซิโก หมู่เกาะอินดิสตะวันตก พืชพรรณป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า เรียกว่าสะวันน่า

3.         เขตอากาศแบบทะเลทราย ลักษณะอากาศฤดูร้อนร้อนจัด ปริมาณฝนน้อย บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และภาคเหนือของเม็กซิโก พืชพรรณเป็นพวกตะบองเพชรและไม้หนาม

4.         เขตอากาศเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะอากาศกึ่งแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ซึ่งอยู่บริเวณชายขอบทะเลทราย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น เรียกว่า สเต็ปป์ (Steppe)

5.         เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศฤดูร้อน ร้อนแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าไม้พุ่มเตี้ย เรียกว่า ป่าแคระ

6.         เขตอากาศแบบชื้นกึ่งร้อน ลักษณะอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี บริเวณภาคกลาง ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มี พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าสน
7.         เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะอากาศฤดูร้อนอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ได้รับลมประจำตะวันตก ที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่น

8.         เขตอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศฤดูหนาวหนาว ฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลางและมีฝนตกชุก บริเวณทะเลสาบทั้ง 5 ตอนใต้ของแคนาดา ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดมีใบแหลม

9.         เขตอากาศแบบไทกา ลักษณะอากาศหนาวจัดยาวนาน มีหิมะตก ส่วนฤดูร้อนมีระยะสั้นอากาศค่อนข้างเย็น บริเวณรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา ภาคเหนือของประเทศแคนาดา พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าสน และป่าไม้เนื้ออ่อน

10.       เขตอากาศแบบทุนดรา ลักษณะอากาศฤดูหนาว หนาวจัด บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก รัฐอะแลสกา และแคนาดา ชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ พืชพรรณธรรมชาติเป็นตะไคร่น้ำและมอส

11.       ลักษณะอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง ลักษณะอากาศหนาวจัดและมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี บริเวณเกาะกรีนแลนด์ตอนกลาง พืชพรรณธรรมชาติไม่สามารถเจริญเติบโตได้เลย

12.       ลักษณะอากาศแบบที่สูง ลักษณะอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น เปลี่ยนไปตามความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงมากอากาศจะยิ่งเย็นจัด จนกระทั่งถึงมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา บริเวณเทือกเขารอกกี ทางภาคตะวันตกของทวีป พืชพรรณธรรมชาติ ป่าสน


สถานที่ท่องเที่ยวในทวีปอเมริกาเหนือ

    น้ำตกไนแองการา (Niagara Falls) รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา


            เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแองการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือบนพรมแดนระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ น้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก น้ำตกแคนาดา) สูง 158 ฟุต, น้ำตกอเมริกาสูง 167 ฟุต, และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil. แม้น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมาก






พีระมิดเตโอติอัว (Teotihuacán)  เม็กซิโก

             เป็นพีระมิดโบราณขนาดใหญ่ที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโกซิตี้ โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ปัจจุบัน นักโบราณคดียังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นผู้สร้างโบราณสถานแห่งนี้ รวมทั้งจุดประสงค์ในการสร้างและการล่มสลายของอาณาจักรก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดไปยังยอดของพีระมิดสุริยัน (The Pyramid of the Sun) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณโบราณสถานแห่งนี้ ด้วยความสูง 63.5 เมตร นอกจากนี้ยังมี พีระมิดจันทรา (The Pyramid of the Moon)  ซึ่งอนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นได้แค่ครึ่งหนึ่งของความสูง การเดินทางไปที่นี่นักท่องเที่ยวสามารถซื้อบริการทัวร์แบบไปเช้าเย็นกลับได้ หรือหากต้องการจะเดินทางไปด้วยตนเอง ก็สามารถใช้บริการรถบัสที่ออกจากสถานีรถ Central del Norte ได้ทุกวัน


รอบรู้เรื่องทวีปอเมริกาเหนือ

เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของทวีปอเมริกาเหนือ คือ (เกาะกรีนแลนด์)
ทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่เท่าใดของโลก (อันดับที่ 3)
ประเทศที่อยู่ใต้สุดของทวีปอเมริกาเหนือ คือ (ประเทศปานามา)
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งได้กี่ประเภท   (4ประเภท)
แม่น้ำที่ยาวที่สุดในอเมริกาเหนือ คือ (แม่น้ำมิสซิสซิปปี)
ทะเลสาบที่สำคัญของอเมริกาเหนือ คือ (ทะเลสาบเกรทเลก)
ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอเมริกาเหนือ (ประเทศแคนาดา)
ประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา)
ภูมิอากาศในอเมริกาเหนือ แบ่งออกเป็นกี่เขต (12 เขต)

ลักษณะภูมิประเทศ เทือกเขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในแนวใด (เหนือ-ใต้)

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป
ลักษณะภูมิอากาศและธรรมชาติของทวีปยุโรป




ภูมิอากาศส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป ได้ 7 เขต ดังนี้

1.ภูมิอากาศแบบขั้วโลก หรืออากาศแบบทุนดรา เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวเป็นระยะเวลานาน มีฤดูร้อนสั้น ๆ เพียง 1- 2 เดือน อุณหภูมิทั้งปีเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส ทำให้มีหิมะและน้ำแข็งปกคลุมเกือบตลอดทั้งปี ชายฝั่งภาคเหนือคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก พืช ได้แก่ มอส และตะไคร่น้ำ

2.ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลก หรืออากาศแบบไทกา ลักษณะอากาศที่หนาวเย็นในฤดูหนาวมี ฤดูร้อนอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 17 องศาเซลเซียส บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ และภาคเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย พืช ได้แก่ ป่าสน ( ป่าไทกา )

3.ภูมิอากาศอบอุ่นชื้น ลักษณะภูมิอากาศอบอุ่นที่มีฤดูร้อน อากาศร้อนจัด แต่ได้รับอิทธิพลจากทะเลจึงทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ไม่มีฤดูแล้งที่เด่นชัด ภูมิอากาศแบบนี้พบในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป ตอนเหนือและตอนกลางของคาบสมุทรบอลข่าน พืช ได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและป่าผสม

4.ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศค่อนข้างหนาวเย็นเป็นเวลานานในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 1- 2 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนจะอบอุ่น อุณหภูมิประมาณ 19 – 20 องศาเซลเซียส เป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากทะเลน้อยเพราะอยู่ลึกเข้าไปในทวีป ได้แก่ บริเวณยุโรปตะวันออก ครอบคลุมประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐสโลวัก โรมาเนีย มอลโดวา ยูเครน ตอนใต้ของสหพันธรัฐรัสเซียได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและป่าผสม

5.ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะอากาศที่อบอุ่นชื้นตลอดทั้งปี ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเพราะได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ มีลมประจำตะวันตกพัดผ่านทำให้มีฝนตกชุก ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันตกและตะวันตกเฉียง-เหนือ ของทวีปยุโรป ครอบคลุมประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก ภาคใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน พืช ได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน ไม้สำคัญ เช่น บีช เอช โอ๊ก ซีดาร์ เป็นต้น

6.ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น ลักษณะอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีฝนตกน้อย ได้แก่ บริเวณตอนกลางคาบสมุทรไอบีเรีย ตอนเหนือทะเลดำและทะเลแคสเปียน และตอนใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย           พืช ได้แก่ ทุ่งหญ้ากอสั้น ๆ ที่เรียกว่าทุ่งหญ้าสเตปป์ ( steppe ) มีไม้พุ่มเตี้ยขึ้นสลับกันห่าง ๆ


7.ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนลักษณะอากาศ ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นและมีฝนตก อุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 8 องศาเซลเซียส ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ครอบคลุมคาบสมุทรไอบีเรีย ภาคใต้ฝรั่งเศส คาบสมุทรอิตาลี และชายฝั่งคาบสมุทรบอลข่าน พืช ได้แก่ ไม้คอร์ก

สถานที่ท่องเที่ยวในทวีปยุโรป 


หอไอเฟล(Eiffel Tower) ประเทศฝรั่งเศส

                หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตามกุสตาฟ ไอเฟล สถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอคอยนี้ หอไอเฟลถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลก ในปี ค.ศ. 1889 (Exposition universelle de Paris de 1889)
 เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และความสวยทางศิลปะสถาปัตยกรรม หอคอยสูงงดงามแห่งนี้เป็นดาวเด่นที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งต่อมาได้รู้จักในนามหอไอเฟลและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส และในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุด

หอนาฬิกาบิ๊กเบน (Big Ben) ประเทศอังกฤษ

              หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วย สถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)
             หลายคนเข้าใจว่าบิ๊กเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิ๊กเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวน ไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิ๊กเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิ๊กเบนเรียกตัวหอทั้งหมด


รอบรู้เรื่องทวีปยุโรป

เทือกเขาที่เป็นพรหมแดนกั้นระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป (อูราล)
เมืองหลวงของประเทศสเปนคือ (มาดริด)
ยอดเขาสูงสุดของทวีปยุโรป (เอลบรุส)
ประเทศที่ได้ชื่อดินแดนพระอาทิตย์ไม่ตกดิน (อังกฤษ)
แม่น้ำนานาชาติของทวีปยุโรปคือ (แม่นํ้าไรน์)
แม่น้ำถ่านหินอยู่ในประเทศใด (เยอรมนี)
ประเทศที่ไม่ได้อยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ (ไอซ์แลนด์)
ประเทศที่ได้ชื่อว่าดินแดนเหล็กคุณภาพดี (สวีเดน)
ดินแดนที่ได้ชื่อว่าดินแดนแห่งน้ำหอม (ฝรั่งเศส)
ประเทศที่ได้ชื่อดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน (นอร์เวย์)
ประเทศที่ได้ชื่อว่าดินแดนแห่งกีฬาสู้วัวกระทิง (สเปน)

ประเทศที่อยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ (เดนมาร์ก)